ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๗๐ ประจำวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐
โรคราแป้งเงาะ (Powdery mildew Disease)
เตือนเกษตรกรชาวสวนเงาะทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในระยะออกดอกถึงติดผลอ่อน เนื่องจากในบางพื้นที่มีฝนตก สภาพอากาศร้อนชื้น ให้ระวังโรคราแป้งเงาะ ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้รีบขอคำแนะนำเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง หากไม่ดำเนินการจัดการจะส่งผลเสียหายต่อผลผลิต ทำให้ผลผลิตเสียคุณภาพขายไม่ได้ราคา
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Pseudoidium nephelii
ลักษณะอาการ
ระยะช่อดอกเงาะกอนบานจะมีราขาวจับคลุมดอก เชื้อราแป้งเจริญปกคลุมกลีบดอกและรังไข ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดอกแห้งฝ่อ ผลอ่อนที่มีเชื้อราสีขาวเจริญปกคลุมจะแหงดำ เชื้อราแป้งอาจพักตัวหรือแสดงอาการตลอดระยะพัฒนาขนาดต่างๆ ของผลเงาะ ขนเงาะมีราขาวปกคลุมที่ผลอ่อนเพียงบางส่วนหรือทั่วผล ต่อมาขนเงาะจะแห้งดำและคอดขาดเหลือโคนขนเงาะสั้น ชาวสวนเรียกว่า "เงาะนิโกร" ผลเงาะระยะผลโตที่มีราแป้งคลุมจะเปลี่ยนสีเหลืองและตกกระดำที่ผิว ในสวนที่มีโรครุนแรง ผลเงาะที่เก็บเกี่ยวจะมีสีเหลือง ขนเกรียนสั้น เงาะพันธุโรงเรียนมีความรุนแรงของโรคน้อยแต่เมื่อเป็นโรคจะชะงักการเจริญ และผลเงาะมีผลสีดำ เชื้อราแป้งในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทยพบที่ระยะช่อดอกและผล และทางภาคใต้ของไทยยังพบกับใบที่อยู่ในพุ่มหรือยอดที่เจริญจากบริเวณกิ่งล่างๆ ใบอ่อนจะมีราขาวปกคลุม
การแพร่ระบาด
เชื้อราแพร่กระจายโดยทางลม
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
๑. สำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบราแป้ง ๓ จุด ในต้นถือว่าระบาด
๒. ตัดแต่งกิ่งเก็บส่วนที่เป็นโรคมาเผาทำลายนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ
๓. ช่วงแตกใบอ่อนและเริ่มติดผลหมั่นสำรวจต้นเงาะ หากพบราแป้งเข้าทำลายใบอ่อนควรพ่นกำจัดด้วยผงกำมะถันละลายน้ำ ๔๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร จะช่วยลดความรุนแรงลงได้
๔. ในช่วงระยะผลอ่อน หากพบอาการรุนแรงให้พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา อัตราตามคำแนะนำในฉลาก ดังนี้
- คาร์เบนดาซิม ๕๐% ดับบลิวพี อัตรา ๖ - ๑๒ กรัม ต่อน้ า ๒๐ ลิตร
- ไดโนแคพ ๒๕% ดับบลิวพี อัตรา ๑๐ – ๒๐ กรัม ต่อน้ า ๒๐ ลิตร
ที่มา : ๑. สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร
๒. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระแก้ว (Facebook : ๑๑ พ.ค. ๒๕๕๙)
เรียบเรียงโดย กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
Update Date : บันทึกเมื่อ : 26/05/2560