ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑๒๕ ประจำวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐
โรคใบไหม้สตรอเบอรี่
เตือนเกษตรกรปลูกสตรอเบอรี่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ระวังโรคใบไหม้สตรอเบอรี่ที่มักเกิดกับเนื่องจากในช่วงนี้หลายพื้นที่มีฝนตกน้อยลง ในบางพื้นที่มีฝนตกและหยุดสลับกัน และเริ่มเข้าสู่ช่วงต้นของฤดูหนาว กลางวันอากาศร้อน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง ๒๑ - ๓๔ องศาเซลเซียส เหมาะต่อการระบาดของโรคขอบใบแห้ง ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบใบข้าวมีลักษณะเป็นแผลช้ำที่ขอบใบของใบล่าง หรือแผลเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าวให้เกษตรกรรีบเตรียมการป้องกันกำจัด หรือขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้าน เพื่อหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Phomopsis obscurans
ลักษณะอาการ
ใบเกิดเป็นจุดไหม้สีน้ำตาลบนใบ และลุกลามไปยังขอบใบ ขอบแผลมีลักษณะจางมีสีม่วงหรือม่วงแดงล้อมรอบ และไมมีรูปร่างที่ชัดเจนเป็นได้ทั้งแผลกลมหรือยาว แต่ถ้าเกิดแผลติดกับเส้นกลางใบ แผลจะมีรูปร่างเป็นตัววี ในระยะนี้ส่วนกลางของแผลจะเห็นเป็นจุดสีดำ มีขนาดเล็ก เมื่อแผลขยายใหญ่มีลักษณะค่อนข้างยาว กลางแผลเป็นสีน้ำตาลเขม ถัดออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อน รอบนอกสุดจะเป็นสีม่วง แผลค่อยๆ แห้งแต่แข็งและนูนเด่นขึ้นมา โดยทั่วไปแผลมีขนาดประมาณ ๑/๔ - ๑/๓ ของใบหรือเล็กกว่า แต่ถ้าระบาดมากจะขยายไปเกือบทั้งใบ และแห้งตายในที่สุด
การแพร่ระบาด
แพร่ระบาดได้โดยติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือลม น้ำพาเอาสปอร์ไป
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
๑. สำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
๒. เก็บเศษซากพืชและใบที่เปนโรคเผาทําลายนอกแปลง
๓. พนดวยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เชน เมนโคเซบ สลับกับ เบนโนมิล หรือ คารเบนดาซิม ตามอัตราแนะนํา
๔. เมื่อพบวาโรคเริ่มระบาดควรพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เชน เบนโนมิล อัตรา ๑๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือไธแรม ๕๐ กรัม ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
ฤดูถัดไป
ใช้ต้นพันธุ์ปลูกที่สะอาดปราศจากโรค หากเป็นไปได้ควรเปลี่ยนพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ใหม่ ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมในแหล่งที่เคยเกิดโรค
ที่มา : ๑. คลินิกพืช กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
๒. ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
Update Date : บันทึกเมื่อ : 27/09/2560