กรมส่งเสริมการเกษตร ปรับกลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการคุณภาพและการป้องกันควบคุม หนอนเจาะทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดการจัดการในพื้นที่สู่เป้าหมายทุเรียนคุณภาพ

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร สั่งการปรับกลไกการขับเคลื่อน ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ
และการป้องกัน ควบคุม หนอนเจาะทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้เกษตรจังหวัด ยะลา นราธิวาส ปัตตานี
และ สงขลา ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้

1. สอบทานประสิทธิภาพมาตรการกรอง 4 ชั้น พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โดยเฉพาะการคัดทุเรียนคุณภาพจากสวน ต้องตัดผลทุเรียนแก่เต็มที่ และบ่มเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ซึ่งมาตรการแบ่งออกเป็น 4 มาตรการ ได้แก่
มาตรการกรองชั้นที่ 1 การคัดทุเรียนผลแก่เต็มที่ และบ่มเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
มาตรการกรองชั้นที่ 2 บ่มทุเรียนแยกกองตามแหล่งที่มา 48 ชั่วโมง (เพื่อคัดแยกลูกหนอนเจาะ) และตรวจ
วัดเปอร์เซ็นต์แป้งทุเรียนมีเปอร์เซ็นต์แป้ง 32-35 เปอร์เซ็นต์ เมื่อบ่มครบ 48 ชั่วโมงหลังจากคัดแยกลูกหนอนเจาะ ทำการบรรจุลงกล่องแล้วบ่มไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง ตรวจสอบหนอน
และคัดแยกทุเรียนคุณภาพลงกล่อง
มาตรการกรองชั้นที่ 3 กรมวิชาการเกษตรตรวจปิดตู้ร่วมกับด่านตรวจพืชเพื่อสุ่มตรวจสุขอนามัยพืช
จาก 3 เปอร์เซ็นต์เป็น 5 เปอร์เซ็นต์
มาตรการกรองชั้นที่ 4 ด่านตรวจพืชปลายทางสุ่มตรวจศัตรูพืชอีกครั้ง ณ ด่านปลายทางที่ออกใบ PC
กรณีเจอหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะตีกลับเพื่อทำการคัดแยกทุเรียนที่ได้รับความเสียหายจากหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

2. ประเมินความหนาแน่นของโรค แมลง ศัตรูพืชและระดับความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์ (General Equilibrium, Economic Threshold, Economic Injury Level) เพื่อจัดโซนของมาตรการควบคุม กำจัด และป้องกันแมลงศัตรู
ให้สอดคล้องกับช่องโอกาสทางด้านตลาดและการตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ทุเรียนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
อาทิ มาตรการใช้เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management) การใช้แสงไฟป้องกันหนอนผีเสื้อกลางคืน การห่อผลด้วยถุงเทคโนโลยีใหม่เพื่อช่วยป้องกันโรคและแมลงโดยไม่ต้องใช้สารเคมี และทำให้ทุเรียน
มีเปลือกบางลงและมีเนื้อหนาขึ้นด้วย ซึ่งจะเหมาะกับทุเรียนแกะเนื้อแช่แข็ง อีกทั้งช่วยให้เกษตรกรปลอดภัยจาก
สารเคมี เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ช่วยให้การบริหารจัดการภายในสวนง่ายขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสร้างความยั่งยืนให้แก่อาชีพทำสวนต่อไปในอนาคต
3. การสอบทานปริมาณ คุณภาพ ความพอเพียงและการเข้าถึงวัสดุ อุปกรณ์ ฯลฯ อันเป็นทรัพยากรที่จำเป็น
สำหรับเกษตรกรที่จะใช้ป้องกัน ควบคุม กำจัดหนอนเจาะทุเรียน จากร้านค้าจำหน่ายในท้องที่ท้องถิ่น
4. การอบรมให้ความรู้ คำปรึกษา และสร้างความเชื่อมั่นแก่เกษตรกรและบริหารความคาดหวังของผู้บริโภคทุกระดับว่าจะได้รับการส่งมอบทุเรียนที่มีคุณภาพ

5. ประสานเชื่อมโยงผู้ประกอบการค้าทุเรียนแกะเนื้อแช่แข็ง เพื่อสร้างโอกาสมูลค่าเพิ่มและแยกเนื้อทุเรียนที่ได้รับ
ผลกระทบจากหนอนเจาะทุเรียน
6. กำหนดแนวทางปฏิบัติร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะเปลือกทุเรียน
และผลทุเรียนทิ้งเพื่อกำจัดแหล่งพาหะของหนอนเจาะทุเรียนอันเป็นการตัดวงจรการเจริญเติบโตให้ลดน้อยลงมากที่สุด
7. การติดตามประเมินความเสี่ยงด้านราคาและการบิดเบือนตลาดเพื่อรักษาระดับเสถียรภาพราคาให้อยู่ในระดับที่สร้างผลตอบแทนสุทธิที่พอเพียงกับรายจ่ายครัวเรือนของเกษตรกรในปัจจุบันและอนาคต

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมอบแนวทางการประเมินความเสี่ยงในอนาคตสำหรับ
การผลิตทุเรียนในรอบปีต่อไป 68/69 ซึ่งมีเป้าประสงค์ยกระดับทุเรียนคุณภาพพรีเมี่ยมส่งออก อาทิ ความเสี่ยง
ด้านทรัพยากรน้ำ ด้านการวิวัฒนาการและสัณฐานวิทยาของโรค แมลงศัตรูพืช ด้านกลไกตลาดและราคาด้านข้อมูล
และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ โดยมีข้อสั่งการ ดังนี้
1) การให้ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะและความเชื่อมั่นแก่เกษตรกรสามารถผลิตทุเรียนคุณภาพตามหลักวิชาการ เริ่มตั้งแต่การจัดการที่ดีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมสร้างพลังงานแก่ต้นทุเรียนให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง
เพียงพอต่อการออกดอก ติดผลในฤดูกาลต่อไป
2) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือตลอดห่วงโซ่อุปทานในระหว่าง 8 เครือข่ายกรมส่งเสริมการเกษตร (แปลงใหญ่ทุเรียน วิสาหกิจชุมชนแปรรูปทุเรียน Smart Farmer/Young Smart Farmer ศพก. ศดปช. ศจช. อกม. และ
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร) เพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานทุเรียนจังหวัดชายแดนใต้ที่มีการเชื่ิอมโยงทรัพยากรและเพิ่มอำนาจ
ซื้อของเกษตรกร
3) การเฝ้าระวังโรค แมลงศัตรูพืช เชิงรุก เพื่อตัววงจรการเจริญเติบโตก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะช่วงตัวเต็มวัย ก่อนเข้าสู่
ช่วงออกดอกทุเรียน
4) เพิ่มประสิทธิภาพระบบการเฝ้าระวังโรค แมลงศัตรูทุเรียน และระบบการป้องกัน ควบคุมการตัดทุเรียนอ่อน
และสร้างโอกาสการเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทานสินค้าและผลิตภัณฑ์ทุเรียนที่หลากหลายและเหมาะสม
5) การเตรียมสร้างนักคัด นักตัด นักแกะทุเรียน เพื่อเสริมความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานสินค้าทุเรียนที่มีมาตรฐาน
และพอเพียงต่อความต้องการ
6) การศึกษาวิจัยและพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ทุเรียน ร่วมกับสถาบันการศึกษาพื้นที่ เพื่อสร้างความหลากหลายและมูลค่าเพิ่มตามความต้องการและสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้บริโภค
7) สร้างกิจกรรมการตลาดเพื่อสร้างความรู้อาหารศึกษา ด้านคุณค่าและประสบการณ์ด้านรสชาติ โภชนาการ
และเรื่องราวของทุเรียนอัตลักษณ์ เช่น ทุเรียนทรายขาว จังหวัดปัตตานี ทุเรียนบางนรา จังหวัดนราธิวาส ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา เพื่อส่งเสริมการบริโภคให้เพิ่มพูนขึ้น
8) ประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการรวบรวม คัดแยกคุณภาพ และแปรรูปทุเรียน เพื่อสร้างและพัฒนากลไกตลาดที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถบริหารความเสี่ยงจากสภาวะกลไกตลาดล้มเหลวหรือบิดเบือนได้ทันการณ์ อีกทั้งเพื่อหนุนเสริมมาตรการป้องกัน ควบคุม กำจัด โรคแมลงศัตรูทุเรียน ของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน
9) การวิเคราะห์และสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณการค้าในแต่ละช่องทาง ทั้งตลาดโมเดิร์นเทรด
ตลาด e-Commerce และ Digital Marketing ตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก.-

The post กรมส่งเสริมการเกษตร ปรับกลไกการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการคุณภาพและการป้องกันควบคุม หนอนเจาะทุเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยึดการจัดการในพื้นที่สู่เป้าหมายทุเรียนคุณภาพ appeared first on ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร.

SOCIALICON
Facebook
Twitter
Instagram
Message us
Skip to content