การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง สามารถดำเนินการอย่างไร« Back to Questions List

Posted by esc2560Admin
Asked on สิงหาคม 29, 2024 9:32 am

ก่อนน้ำท่วม
- ป้องกันน้ำท่วมสวน โดยเสริมคันดินรอบนอกให้แข็งแรงและเตรียมการสูบน้ำออก
- เก็บเกี่ยวผลผลิต อย่าให้มีผลติดอยู่ติดกับต้น และตัดแต่งกิ่งให้เหลือใบน้อยลง
- ให้ปุ๋ยทางใบที่มีโพแทสเซียมสูง ประมาณ 1-2 ครั้ง

ขณะที่ถูกน้ำท่วมขังอยู่
- หากต้นไม้ยังไม่แสดงอาการทิ้งใบ ให้ทำการเสริมคันดินให้แข็งแรงและเร่งรีบสูบน้ำออกจากพื้นที่สวนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
- หาวิธีเติมอากาศ โดยทำให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหว ถ่ายเทหรือหมุนเวียน เช่น ใช้เครื่องอัดอากาศให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้น ใช้เครื่องพ่นอากาศลงในน้ำ ใช้กังหันตีน้ำ หรือใช้ท่อไม้ไผ่ปักลงไปในดิน

หลังน้ำลด
- เมื่อระดับน้ำลดแล้วแต่ดินยังเปียกหรือหมาดอยู่ ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบระบบรากยังอิ่มตัวด้วยน้ำ ระบบรากของต้นไม้ซึ่งได้รับความบอบช้ำมาก่อนแล้วจะได้รับความกระทบกระเทือนมากขึ้นและต้นตายได้โดยง่าย ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ให้หน้าดินแห้งก่อน

- ในระยะนี้อาจหาวิธีเติมอากาศลงสู่ดิน ก็จะช่วยเร่งให้ต้นไม้ผลพื้นตัวเร็วขึ้น และยังเป็น การช่วยไล่น้ำที่ยังคงค้างอยู่ในดินให้ระบายออกไปเร็วมากขึ้น

- ธาตุไนโตรเจน โพแตสเซียม และโบรอน จะสูญเสียไปมากช่วงน้้าท่วม จึงควรใส่เพิ่มประมาณ 20% ของอัตราปกติ และต้องใส่ปุ๋ยเร่งการสร้างรากใหม่แทนรากเดิมที่เสียหาย และใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น พ่นสัก 2 - 3 ครั้ง

- เมื่อดินแห้ง เอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช ตัดแต่งกิ่งปลิดผล เพื่อลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น พรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น

- ในพืชที่มีปัญหาของโรครากเน่า และโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3TPx2pd

Posted by ศูนย์วิทยบริการเพื่อส่งเสริมการเกษตร
Answered On สิงหาคม 29, 2024 9:39 am