ถาม - ตอบ
Categories
< All Topics
Print

ถ้าไม่เผา จะจัดการกับเศษวัสดุการเกษตรอย่างไรได้บ้าง

       – ไถกลบ การไถกลบควรทำควบคู่ไปกับการใช้สารอินทรีย์ สำหรับเร่งการย่อยสลาย หรือ “น้ำหมักชีวภาพ” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายให้เป็นปุ๋ย ซึ่งจะทำให้โครงสร้างดินดี เพิ่มอินทรียวัตถุ และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

       – ใช้ปรับปรุงบำรุงดิน สามารถทำได้ด้วยการไถกลบให้ย่อยสลาย และการนำมาทำปุ๋ยหมัก รวมทั้งใช้ในการคลุมดินสำหรับรักษาความชื้น

       – ผลิตปุ๋ยอินทรีย์  ด้วยการนำเศษวัสดุการเกษตรที่เหลือทิ้งในแปลงมาผลิตใช้เอง เป็นการลดต้นทุน และช่วยปรับปรุงดินให้อุดมสมบูรณ์

       – ใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น การนำเปลือกข้าวโพดมาหมักเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงโค หรือการอัดฟางข้าวเป็นก้อน เพื่อนำไปเป็นอาหารโคกระบือ

       – นำมาใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น ฟางข้าว ยอดและใบอ้อย เปลือกและซังข้าวโพด ถือเป็น ชีวมวล (Biomass) สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกได้ เช่น นำมาอัดแท่งเพื่อใช้ในครัวเรือน

ทั้งนี้ มีตัวอย่างชุมชนใดบ้างที่จัดการกับเศษวัสดุทางการเกษตร โดยปลอดการเผา?

       1. ชุมชน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด ทำให้มีรายได้ 3,000,000 บาท

       2. ชุมชน ต.ทุ่งศรีทอง อ.เวียงสา จ.น่าน ผลิตฟางอัดก้อนจำหน่าย มีรายได้ 150,000 บาท และผลิตปุ๋ยหมักจากซังข้าวโพด มีรายได้อีก 125,000 บาท

       3. ชุมชน ต.ยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ผลิตฟางอัดก้อนจำหน่าย มีรายได้ 1,440,000 บาท และผลิตปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าวที่อัดไม่ได้ ต้นถั่วลิสง ซังข้าวโพด มีรายได้ 200,000 บาท

       4. ชุมชนต.นิคม อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ผลิตเห็ดฟางกองเตี้ย

มีรายได้ทั้งหมด 1,250,000 บาท

       5. จ.ลพบุรี จำนวน 3 ชุมชน ได้แก่ (1) ชุมชนตำบลดงดินแดง อ.หนองม่วง (2) ชุมชน ต.แก่งผักกูด อ.ท่าหลวง และ (3) ชุมชน ต.น้ำสุด อ.พัฒนานิคม ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากใบอ้อย มีรายได้ 1,250,000 บาท

       6. ชุมชนบ้านแม่ระกา ต.แม่ระกา อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ทำการเกษตรแบบไม่เผาตอซังฟางข้าว

โดยไถกลบตอซัง ได้ทำการตรวจวิเคราะห์ดินร่วมกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ปุ๋ยเคมีลดลงจากเดิม เฉลี่ยไร่ละ 100 -150 บาท

              – พื้นที่ 300 ไร่ ในฤดูนาปี ได้ปุ๋ยอินทรีย์ในดินปริมาณ 150 ตัน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ปุ๋ยเคมีลดลงจากเดิมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 30,000  – 45,000 บาท

              – พื้นที่ 700 ไร่ ในฤดูนาปรัง ได้ปุ๋ยอินทรีย์ในดินปริมาณ 350 ตัน ทำให้ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้ปุ๋ยเคมีลดลงจากเดิมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 – 105,000 บาท

       7. ชุมชน ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เพาะเห็ดนางฟ้าจากฟางข้าว  มีรายได้ 100,000 บาท       

8. ชุมชน ต.กระเบื้องนอก อ.เมืองยาง จ.นครราชสีมา ไถกลบตอซังทดแทนการเผา พื้นที่ 18,011 ไร่ ลดการทำลายอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน คิดเป็นมูลค่า 3,908,387 บาท

Facebook
Twitter
Instagram
SOCIALICON
Previous ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Farmbook แล้วใช้ได้เลยไหม
Next ลืมรหัสทะเบียนเกษตรกร ทำอย่างไร
Table of Contents
Skip to content