ถาม - ตอบ
Categories
< All Topics
Print

เกลือ ที่พบในประเทศไทย มีเกลืออะไรบ้าง

ในประเทศไทยมีเกลือ 2 ชนิดคือเกลือสมุทรหรือเกลือทะเล และ เกลือหินหรือเกลือสินเธาว์

       – เกลือสมุทรหรือเกลือทะเล เป็นเกลือที่ผลิตขึ้นโดยการนำน้ำทะเลขึ้นมาตากแดด ให้น้ำระเหยไปเหลือแต่ผลึกเกลือตกอยู่ มีการผลิตใช้มาตั้งแต่โบราณ เกลือทะเลมีคุณสมบัติที่ดีในการเป็นแหล่งเกลือแร่ที่สมดุลต่อร่างกาย มีไอโอดีนจากธรรมชาติ 1-5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่ความชื้น 2-68% อยู่ในรูปที่เหมาะสมต่อการดูดซึม ประเทศไทยมีพื้นที่ทำนาเกลืออยู่ 7 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และปัตตานี

       – เกลือหิน หรือเกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่มาจากดินหรือน้ำชะดินโดยการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาตากแดดหรือต้มเพื่อให้ได้ตะกอนเกลือ ปัจจุบันเกลือหินได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย  

เกลือสินเธาว์เหมาะกับการใช้ในอุตสาหกรรม เพราะมีความชื้น แมกนีเซียม และแคลเซียมค่อนข้างต่ำ

มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบน้อยคือ 0.02-0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตจึงนำมาเติมสารไอโอดีนเพื่อให้เทียบเท่าเกลือทะเล)        ประเทศไทยมีการผลิตเกลือทะเลปีละประมาณ 600,000 ตัน โดยมีสัดส่วนการใช้เกลือทะเลไทยในอุตสาหกรรมต่างๆ แบ่งเป็นด้านอุตสาหกรรมอาหาร ร้อยละ  30.58 ด้านอุตสาหกรรมประมง ร้อยละ 19.5 ด้านกิจการโรงงานดองผัก ร้อยละ 20.7 ด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 19.3 ด้านผู้บริโภค ร้อยละ 7.1 ด้านอื่นๆ ร้อยละ 2.9

Facebook
Twitter
Instagram
SOCIALICON
Previous พันธุ์อะโวคาโดที่แนะนำให้ปลูก มีพันธุ์อะไรบ้าง เลือกพื้นที่ปลูกอย่างไร
Next เตรียมรับมือและป้องกันไฟไหม้สวนอย่างไร
Table of Contents
Skip to content